ครูผู้สอน

คำอธิบายรายวิชา

           ศึกษารูปแบบของทัศนธาตุ แนวความคิดในการสร้างงานทัศนศิลป์และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ หลักการวาดภาพ สื่อความหมายการโฆษณา ความแตกต่างเทคนิควิธีการ หลักการวิจารณ์และพัฒนางานศิลปะ

          ปฏิบัติกาวาดภาพ สื่อความหมายโดยใช้วัสดุอุปกรณ์และเทคนิควิธีการที่หลากหลาย พร้อมทั้งเปรียบเทียบรูปแบบ วิเคราะห์วิจารณ์ด้วยความใฝ่รู้ มีวินัย มุ่งมั่นในการทำงานและมีจิตสาธารณะ

          เพื่อให้สามารถวาดภาพโดยใช้วัสดุอุปกรณ์และเทคนิควิธีการที่หลากหลายนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

ตัวชี้วัด
         ศ 1.1   ม.2/1        ม.2/2     ม.2/3     ม.2/4     ม.2/5     ม.2/6     ม.2/7

         ศ 1.2   ม.2/1        ม.2/2     ม.2/3


คำอธิบายรายวิชา

           ศึกษาความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของทัศนธาตุในงานทัศนศิลป์และสิ่งแวดล้อม  ลักษณะ   รูปแบบงานทัศนศิลป์ของชาติ   และของท้องถิ่นตนเอง   จากอดีตจนถึงปัจจุบัน หลักการออกแบบงานทัศนศิลป์ ความเป็นเอกภาพ ความกลมกลืน ความสมดุล งานทัศนศิลป์ภาคต่าง ๆ    ในประเทศไทย     หลักการวาดภาพแสดงทัศนียภาพ   การออกแบบรูปภาพสัญลักษณ์ หรือกราฟิก  ความแตกต่างของงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย  และสากล  การประเมินงานทัศนศิลป์ และการมีจิตสาธารณะในการสร้างงานศิลปะ

           ฝึกปฏิบัติการสร้างผลงานทางทัศนศิลป์    ตามความถนัด  ความสนใจ  ความสามารถด้านการเขียนรูปด้วยวัสดุ- อุปกรณ์ทั่ว ๆ ไป และ วัสดุ- อุปกรณ์ท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสภาพทางวัฒนธรรม

ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทย  ภูมิปัญญาสากล และมีจิตสาธารณะในขณะปฏิบัติกิจกรรมศิลปะ

ตัวชี้วัด
         ศ 1.1   ม.1/1        ม.1/2     ม.1/3     ม.1/4     ม.1/5     ม.1/6    

         ศ 1.2   ม.1/1        ม.1/2     ม.1/3

         รวม  9  ตัวชี้วัด 



      ศึกษาความรู้เกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทย และทักษะการอ่านโน้ตดนตรีไทย ศัพท์สังคีต จังหวะ เทคนิคการและลักษณะการบรรเลงเครื่องดนตรีไทย รวมถึงการเก็บรักษาบำรุงเครื่องดนตรี และการซ่อมแซมเครื่องดนตรีไทย     ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีไทยในบทเพลงที่กำหนดในรูปแบบของการบรรเลงเดี่ยวเพื่อให้เกิดทักษะและความชำนาญในการบรรเลง โดยมีการประเมินผลจากการสอบทักษะ


ศิลปะ5 ม.6

คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของศิลปินกับการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เทคนิค จะต้องคิด ค้นหาค้นคว้า รูปแบบ พัฒนา สร้างสรรค์ แปลกใหม่ เคลื่อนไหว ไม่นิ่งเฉย การใช้สีสัน โทนสี สีตรงข้าม การฆ่าสี สีส่วนรวม ความกลมกลืนของสี พื้นผิวต่าง ๆ ผิวเรียบ ผิวเกลี้ยง ผิดหยาบ ผิวขุรขระ และฯลฯ แหล่งที่มาจากธรรมชาติ มนุษย์สร้างขึ้น เครื่องจักร การสร้างสรรค์จัดองค์ประกอบศิลป์ รูปทรงเลขาคณิต สีมิติและพื้นผิว การสืบทอดผลงานทางทัศนศิลป์ในรูปแบบสากลตามแนวความคิดของศิลปินและสร้างงานทัศนศิลป์แบบอิสระตามแนวความคิดของตนเอง สร้างงานทัศนศิลป์ ( ภาพล้อเลียน) ที่เป็นจิตสาธารณะเพื่อประโยชน์ต่อตนเองส่วนรวมและสังคม เห็นคุณค่าของงานทัศนศิลป์ในยุคแรกและยุคปัจจุบันของศิลปินจัดทำแฟ้มสะสมผลงานไว้ศึกษาและชื่นชม เป็นการรู้คุณค่าความงามได้ศึกษารูปแบบและยังอนุรักษ์สืบทอดความงามของศิลปะแบบสากลได้เป็นอย่างดี

ตัวชี้วัด

          ศ 1.1   ม.6/1ม.6/2ม.6/4ม.6/8ม.6/9  

          ศ  1.2   ม.6/3   

รวมทั้งหมด  6  ตัวชี้วัด

 


ศิลปะ3 ม.5

คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาฝึกทักษะการใช้วัสดุอุปกรณ์ กระบวนการและเทคนิคที่สูงขึ้นในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ด้วยหลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์ จากแนวคิดและวิธีการสร้างงานของศิลปิน ที่ชื่นชอบได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์และเปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ในรูปแบบตะวันออก ตะวันตก และจุดมุ่งหมายการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเทคนิคของศิลปินในการแสดงออกทางทัศนศิลป์ อภิปรายและเปรียบเทียบอิทธิพลของวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่มีต่อผลงานทัศนศิลป์ในสังคม เห็นคุณค่าและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้วยความชื่นชม โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการปฏิบัติและกระบวนการพิจารณาคุณค่า เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจสามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

ตัวชี้วัด

          ศ 1.1    ม.4-6/1-11

         

รวมทั้งหมด    11  ตัวชี้วัด

 


ศิลปะ1  ศ31101  ม.4

คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาและเข้าใจความเป็นมาของงานทัศนศิลป์ การสื่อความหมาย การสัมผัส ความคิด การจินตนาการ ความงาม สุนทรีภาพ ลักษณะประเภทของงาน งานจิตรกรรม งานประติมากรรรม งานสถาปัตยกรรม ศัพท์ทางเทคนิค ทัศนธาตุหรือองค์ประกอบศิลป์ เส้น รูปทรง ขนาด สัดส่วน จังหวะ ช่องไฟ น้ำหนัก สี และพื้นผิว หลักการจัดภาพ เอกภาพ สมดุล ภาพ จุดเด่น : การจัดองค์ประกอบในการนสร้างงานทัศนศิลป์ แบบองค์ประกอบ แบบธรรมชาติ แบบ แบบสร้างสรรค์ หรือ การสร้างภาพสะท้อนลักษณะอารมณ์และความรู้สึก วิเคราะห์วิจารณ์ผลงานเพื่อเห็นคุณค่าของานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ประเพณี ของเทศกาลต่าง ๆ ในท้องถิ่นที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดผลงานทางทัศนศิลป์สืบไป

 

ตัวชี้วัด
          ศ 1.1         ม.4-6/1-3,5-6,8,11                  

          ศ 1.2        ม.4-6/3   

รวม   8  ตัวชี้วัด


ศิลปะ5 ศ23101 ม.3

คำอธิบายรายวิชา

        ศึกษา วิเคราะห์ บรรยายสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์ที่เลือกมา โดยใช้ความรู้เรื่อง ทัศนธาตุและหลักการออกแบบ เทคนิค วิธีการ ของศิลปินในการสร้างงานทัศนศิลป์ วิธีการใช้ทัศนธาตุ และหลักการออกแบบในการสร้างงานทัศนศิลป์ของตนเองให้มีคุณภาพ มีทักษะในการสร้างงานทัศนศิลป์อย่างน้อย 3 ประเภท มีทักษะในการผสมผสานวัสดุต่างๆ ในการสร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้หลักการออกแบบ สร้างงานทัศนศิลป์ ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และจินตนาการ สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์สื่อความหมายเป็นเรื่องราว โดยประยุกต์ใช้ทัศนธาตุและหลักการออกแบบ รูปแบบเนื้อหา และคุณค่าในงานทัศนศิลป์ของตนเองและผู้อื่น หรือของศิลปิน สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์เพื่อบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ โดยใช้เทคนิคที่หลากหลาย ระบุอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานทัศนศิลป์และทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพนั้นๆเลือกงานทัศนศิลป์โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นอย่างเหมาะสมและนำไปจัดนิทรรศการ ศึกษาและเปรียบเทียบเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม ความแตกต่างของงานทัศนศิลป์ในแต่ละยุคสมัยของวัฒนธรรมไทยและสากล
        โดยใช้ทักษะกระบวนการทางทัศนศิลป์ในการสร้างและนำเสนอผลงานทัศนศิลป์ การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสม การวิเคราะห์ การวิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ เพื่อให้เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

ตัวชี้วัด
         ศ 1.1   ม.3/1        ม.3/2         ม.3/3     ม.3/4     ม.3/5     ม.3/6    ม.3/7     ม.3/8     ม.3/9     ม.3/10   ม.3/11  

         ศ 1.2   ม.3/1        ม.3/2  

         รวม  13  ตัวชี้วัด


คำอธิบายรายวิชา

          ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบของบทเพลงและวงดนตรีแต่ละประเภททั้งไทยและสากล อธิบายความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทย และสากลในอัตราจังหวะต่าง ๆ ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเดี่ยวและรวมวง โดยเน้นเทคนิคการแสดงออกและคุณภาพของการแสดง สร้างเกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพการประพันธ์และการเล่นดนตรีของตนเองและผู้อื่น การนำดนตรีไปประยุกต์ในงานอื่น ๆ วิเคราะห์สถานะทางสังคมของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ เปรียบเทียบลักษณะเด่นของดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ อธิบายบทบาทของดนตรีในการสะท้อนแนวความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม การส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีในฐานะมรดกของชาติ

          ศึกษาทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบการสร้างสรรค์ละครสั้น การใช้ความคิดริเริ่มในการแสดงนาฏศิลป์เป็นหมู่คณะ การวิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์และการละคร การวิเคราะห์แก่นของการแสดงนาฏศิลป์และการละครที่ต้องการสื่อความหมายในการแสดง บรรยายและวิเคราะห์อิทธิพลของเครื่องแต่งกาย แสง สี เสียง ฉาก อุปกรณ์และสถานที่ที่มีผลต่อการแสดง บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์และการละครของประเทศไทยในยุคสมัยต่าง ๆ และวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

          เห็นความสำคัญและคุณค่าของดนตรี นาฏศิลป์ และนำความรู้ด้านดนตรี นาฏศิลป์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และประกอบการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ตลอดจนสร้างสรรค์งานดนตรี และนาฏศิลป์ เชื่อมั่น ภาคภูมิใจในการแสดงออก รับผิดชอบ มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น เห็นคุณค่าของดนตรี และนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

 

 

 


คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาและเข้าใจความเป็นมาของงานทัศนศิลป์ การสื่อความหมาย การสัมผัส ความคิด การจินตนาการ ความงาม สุนทรีภาพ ลักษณะประเภทของงาน งานจิตรกรรม งานประติมากรรรม งานสถาปัตยกรรม ศัพท์ทางเทคนิค ทัศนธาตุหรือองค์ประกอบศิลป์ เส้น รูปทรง ขนาด สัดส่วน จังหวะ ช่องไฟ น้ำหนัก สี และพื้นผิว หลักการจัดภาพ เอกภาพ สมดุล ภาพ จุดเด่น : การจัดองค์ประกอบในการนสร้างงานทัศนศิลป์ แบบองค์ประกอบ แบบธรรมชาติ แบบ แบบสร้างสรรค์ หรือ การสร้างภาพสะท้อนลักษณะอารมณ์และความรู้สึก วิเคราะห์วิจารณ์ผลงานเพื่อเห็นคุณค่าของานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ประเพณี ของเทศกาลต่าง ๆ ในท้องถิ่นที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดผลงานทางทัศนศิลป์สืบไป