คำอธิบายรายวิชา
ศึกษารูปแบบของทัศนธาตุ แนวความคิดในการสร้างงานทัศนศิลป์และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ หลักการวาดภาพ สื่อความหมายการโฆษณา ความแตกต่างเทคนิควิธีการ หลักการวิจารณ์และพัฒนางานศิลปะ
ปฏิบัติกาวาดภาพ สื่อความหมายโดยใช้วัสดุอุปกรณ์และเทคนิควิธีการที่หลากหลาย พร้อมทั้งเปรียบเทียบรูปแบบ วิเคราะห์วิจารณ์ด้วยความใฝ่รู้ มีวินัย มุ่งมั่นในการทำงานและมีจิตสาธารณะ
เพื่อให้สามารถวาดภาพโดยใช้วัสดุอุปกรณ์และเทคนิควิธีการที่หลากหลายนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ตัวชี้วัด
ศ 1.1 ม.2/1 ม.2/2
ม.2/3 ม.2/4 ม.2/5 ม.2/6
ม.2/7
ศ 1.2 ม.2/1 ม.2/2 ม.2/3
- Teacher: ห้องเรียน ครูแพรว
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของทัศนธาตุในงานทัศนศิลป์และสิ่งแวดล้อม ลักษณะ รูปแบบงานทัศนศิลป์ของชาติ และของท้องถิ่นตนเอง จากอดีตจนถึงปัจจุบัน หลักการออกแบบงานทัศนศิลป์ ความเป็นเอกภาพ ความกลมกลืน ความสมดุล งานทัศนศิลป์ภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย หลักการวาดภาพแสดงทัศนียภาพ การออกแบบรูปภาพสัญลักษณ์ หรือกราฟิก ความแตกต่างของงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย และสากล การประเมินงานทัศนศิลป์ และการมีจิตสาธารณะในการสร้างงานศิลปะ
ฝึกปฏิบัติการสร้างผลงานทางทัศนศิลป์ ตามความถนัด ความสนใจ ความสามารถด้านการเขียนรูปด้วยวัสดุ- อุปกรณ์ทั่ว ๆ ไป และ วัสดุ- อุปกรณ์ท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสภาพทางวัฒนธรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาสากล และมีจิตสาธารณะในขณะปฏิบัติกิจกรรมศิลปะ
ตัวชี้วัด
ศ 1.1 ม.1/1 ม.1/2 ม.1/3 ม.1/4 ม.1/5 ม.1/6
ศ 1.2 ม.1/1 ม.1/2 ม.1/3
รวม 9 ตัวชี้วัด
- Teacher: ห้องเรียน ครูแพรว
ศึกษาความรู้เกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทย และทักษะการอ่านโน้ตดนตรีไทย ศัพท์สังคีต จังหวะ เทคนิคการและลักษณะการบรรเลงเครื่องดนตรีไทย รวมถึงการเก็บรักษาบำรุงเครื่องดนตรี และการซ่อมแซมเครื่องดนตรีไทย ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีไทยในบทเพลงที่กำหนดในรูปแบบของการบรรเลงเดี่ยวเพื่อให้เกิดทักษะและความชำนาญในการบรรเลง โดยมีการประเมินผลจากการสอบทักษะ
- Teacher: Phichet Wongumoprnchakad
ศิลปะ5 ม.6
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของศิลปินกับการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เทคนิค จะต้องคิด ค้นหาค้นคว้า รูปแบบ พัฒนา สร้างสรรค์ แปลกใหม่ เคลื่อนไหว ไม่นิ่งเฉย การใช้สีสัน โทนสี สีตรงข้าม การฆ่าสี สีส่วนรวม ความกลมกลืนของสี พื้นผิวต่าง ๆ ผิวเรียบ ผิวเกลี้ยง ผิดหยาบ ผิวขุรขระ และฯลฯ แหล่งที่มาจากธรรมชาติ มนุษย์สร้างขึ้น เครื่องจักร การสร้างสรรค์จัดองค์ประกอบศิลป์ รูปทรงเลขาคณิต สีมิติและพื้นผิว การสืบทอดผลงานทางทัศนศิลป์ในรูปแบบสากลตามแนวความคิดของศิลปินและสร้างงานทัศนศิลป์แบบอิสระตามแนวความคิดของตนเอง สร้างงานทัศนศิลป์ ( ภาพล้อเลียน) ที่เป็นจิตสาธารณะเพื่อประโยชน์ต่อตนเองส่วนรวมและสังคม เห็นคุณค่าของงานทัศนศิลป์ในยุคแรกและยุคปัจจุบันของศิลปินจัดทำแฟ้มสะสมผลงานไว้ศึกษาและชื่นชม เป็นการรู้คุณค่าความงามได้ศึกษารูปแบบและยังอนุรักษ์สืบทอดความงามของศิลปะแบบสากลได้เป็นอย่างดี
ตัวชี้วัด
ศ 1.1 ม.6/1, ม.6/2, ม.6/4, ม.6/8, ม.6/9
ศ 1.2 ม.6/3
รวมทั้งหมด 6 ตัวชี้วัด
ศิลปะ3 ม.5
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาฝึกทักษะการใช้วัสดุอุปกรณ์ กระบวนการและเทคนิคที่สูงขึ้นในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ด้วยหลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์ จากแนวคิดและวิธีการสร้างงานของศิลปิน ที่ชื่นชอบได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์และเปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ในรูปแบบตะวันออก ตะวันตก และจุดมุ่งหมายการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเทคนิคของศิลปินในการแสดงออกทางทัศนศิลป์ อภิปรายและเปรียบเทียบอิทธิพลของวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่มีต่อผลงานทัศนศิลป์ในสังคม เห็นคุณค่าและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้วยความชื่นชม โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการปฏิบัติและกระบวนการพิจารณาคุณค่า เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจสามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ตัวชี้วัด
ศ 1.1 ม.4-6/1-11
รวมทั้งหมด 11 ตัวชี้วัด
- Teacher: ห้องเรียน ครูแพรว
ศิลปะ1 ศ31101 ม.4
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและเข้าใจความเป็นมาของงานทัศนศิลป์ การสื่อความหมาย การสัมผัส – ความคิด การจินตนาการ ความงาม สุนทรีภาพ ลักษณะประเภทของงาน งานจิตรกรรม – งานประติมากรรรม งานสถาปัตยกรรม ศัพท์ทางเทคนิค ทัศนธาตุหรือองค์ประกอบศิลป์ เส้น – รูปทรง ขนาด สัดส่วน จังหวะ ช่องไฟ น้ำหนัก สี และพื้นผิว หลักการจัดภาพ เอกภาพ สมดุล ภาพ จุดเด่น : การจัดองค์ประกอบในการนสร้างงานทัศนศิลป์ แบบองค์ประกอบ แบบธรรมชาติ แบบ แบบสร้างสรรค์ หรือ การสร้างภาพสะท้อนลักษณะอารมณ์และความรู้สึก วิเคราะห์วิจารณ์ผลงานเพื่อเห็นคุณค่าของานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ประเพณี ของเทศกาลต่าง ๆ ในท้องถิ่นที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดผลงานทางทัศนศิลป์สืบไป
ตัวชี้วัด
ศ 1.1 ม.4-6/1-3,5-6,8,11
ศ 1.2 ม.4-6/3
รวม 8 ตัวชี้วัด
- Teacher: ห้องเรียน ครูแพรว
ศิลปะ5 ศ23101 ม.3
คำอธิบายรายวิชา
โดยใช้ทักษะกระบวนการทางทัศนศิลป์ในการสร้างและนำเสนอผลงานทัศนศิลป์ การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสม การวิเคราะห์ การวิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ เพื่อให้เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด
ศ 1.1 ม.3/1 ม.3/2
ม.3/3 ม.3/4 ม.3/5 ม.3/6 ม.3/7 ม.3/8 ม.3/9 ม.3/10 ม.3/11
ศ 1.2 ม.3/1 ม.3/2
รวม 13 ตัวชี้วัด
- Teacher: ห้องเรียน ครูแพรว
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบของบทเพลงและวงดนตรีแต่ละประเภททั้งไทยและสากล อธิบายความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทย และสากลในอัตราจังหวะต่าง ๆ ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเดี่ยวและรวมวง โดยเน้นเทคนิคการแสดงออกและคุณภาพของการแสดง สร้างเกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพการประพันธ์และการเล่นดนตรีของตนเองและผู้อื่น การนำดนตรีไปประยุกต์ในงานอื่น ๆ วิเคราะห์สถานะทางสังคมของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ เปรียบเทียบลักษณะเด่นของดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ อธิบายบทบาทของดนตรีในการสะท้อนแนวความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม การส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีในฐานะมรดกของชาติ
ศึกษาทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบการสร้างสรรค์ละครสั้น การใช้ความคิดริเริ่มในการแสดงนาฏศิลป์เป็นหมู่คณะ การวิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์และการละคร การวิเคราะห์แก่นของการแสดงนาฏศิลป์และการละครที่ต้องการสื่อความหมายในการแสดง บรรยายและวิเคราะห์อิทธิพลของเครื่องแต่งกาย แสง สี เสียง ฉาก อุปกรณ์และสถานที่ที่มีผลต่อการแสดง บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์และการละครของประเทศไทยในยุคสมัยต่าง ๆ และวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เห็นความสำคัญและคุณค่าของดนตรี นาฏศิลป์ และนำความรู้ด้านดนตรี นาฏศิลป์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และประกอบการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ตลอดจนสร้างสรรค์งานดนตรี และนาฏศิลป์ เชื่อมั่น ภาคภูมิใจในการแสดงออก รับผิดชอบ มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น เห็นคุณค่าของดนตรี และนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
- Teacher: Ponprapa Narasan
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและเข้าใจความเป็นมาของงานทัศนศิลป์ การสื่อความหมาย การสัมผัส – ความคิด การจินตนาการ ความงาม สุนทรีภาพ ลักษณะประเภทของงาน งานจิตรกรรม – งานประติมากรรรม งานสถาปัตยกรรม ศัพท์ทางเทคนิค ทัศนธาตุหรือองค์ประกอบศิลป์ เส้น – รูปทรง ขนาด สัดส่วน จังหวะ ช่องไฟ น้ำหนัก สี และพื้นผิว หลักการจัดภาพ เอกภาพ สมดุล ภาพ จุดเด่น : การจัดองค์ประกอบในการนสร้างงานทัศนศิลป์ แบบองค์ประกอบ แบบธรรมชาติ แบบ แบบสร้างสรรค์ หรือ การสร้างภาพสะท้อนลักษณะอารมณ์และความรู้สึก วิเคราะห์วิจารณ์ผลงานเพื่อเห็นคุณค่าของานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ประเพณี ของเทศกาลต่าง ๆ ในท้องถิ่นที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดผลงานทางทัศนศิลป์สืบไป